วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

Total Physical Response (TPR)

Total Physical Response (TPR) 

             TPR ถูกพัฒนาโดย Jame Asher ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาที่มหาลัย ซาน โจส เสตจ, แคลิฟอเนีย
             การสอนภาษาโดยการใช้ท่าทาง โดยให้ผู้เรียนฟังคำสั่งจากครูแล้วผู้เรียนทำตาม เป็นการประสานการฟังกับการใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นการตอบรับให้ทำตามโดยผู้เรียนไม่ต้องพูด วิธีสอนภาษาโดยการใช้ท่าทางใช้สำหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาที่ 2  การเรียนภาษานั้นจะเรียนได้ดีต้องเรียนด้วยอิริยาบทที่สนุกสนานกับบทเรียนและมีความสุขกับสิ่งที่เรียน

* เชื่อว่า "ผู้เรียนจะต้องเรียนในวิธีที่ธรรมชาติ-ใช้ภาษาแม่" (Asher)

ขั้นตอนการสอน :
  1. ครูใช้คำสั่งในภาษาเป้าหมาย
  2. ครูให้คำสั่งกับอาสาสมัคร
  3. ครูให้คำอธิบายคำสั่งแก่นักเรียน (ในกรณีที่นักเรียนไม่เข้าใจคำสั่ง)
  4. ครูให้นักเรียนใช้คำสั่งที่พวกเขาไม่เคยได้ยินมาก่อน
  5. ครูเขียนคำสั่งใหม่ขึ้นบนกระดาน
เทคนิคการสอน :
  1. ใช้คำสั่งให้นักเรียนทำ
  2. แสดงบทบาทสมมุติ
  3. เรียนไปและแสดงไป
ข้อดีของการสอนแบบ TPR :
  • นักเรียนได้รับกำลังใจเมื่อเขาทำได้ โดยไม่เร่งแต่จะให้ผู้เรียนเข้าใจเอง และครูสามารถแน่ใจได้ว่านักศึกษาทำได้แน่  ทำให้เด็กมีกำลังใจที่จะทำต่อไป
ข้อเสียของการสอนแบบ TPR :
  • ครูต้องระวังการระวังการใช้คำที่มีความหมายใกล้กัน










Forum : Teaching Listening Skills to Young Learners through “Listen and Do” Songs


Teaching Listening Skills to Young Learners through “Listen and Do” Songs


              บทความนี้ซึ่งตรวจสอบการใช้เพลงในการปรับปรุงทักษะการฟังของผู้เรียนหนุ่มมีแผนการสอนและกิจกรรมการติดตามและรายชื่อของแหล่งข้อมูลออนไลน์สำหรับเพลง


Source: Volume, Numver 3,  2012

Forum : Lesson Plan : Talking a Look At Schools


Lesson Plan : Talking a Look At Schools


           แผนการสอนนี้ขึ้นอยู่กับการอ่านสั้นของรายละเอียดของนักเรียนโรงเรียนหนึ่งในห้องให้มีความหลากหลายของกิจกรรมรวมถึงการอภิปรายกลุ่มการปฏิบัติคำศัพท์การสะกดคำ, หัวข้อการวิจัยการสัมภาษณ์และงานที่มีนักเรียนสำรวจของพวกเขา โรงเรียนของตนเอง ไวยากรณ์เน้นจุดบน คำถามWH- และรูปแบบเปรียบเทียบ


Source: Volume 43, Number 2, 2005



Forum : Vocabulary StrategyWork for Advanced Learners of English


Vocabulary StrategyWork for Advanced Learners of English

        บทความนี้จะให้หลายกิจกรรมที่ออกแบบมาเพื่อสอนกลยุทธ์การเรียนรู้คำศัพท์ ผู้เขียนอธิบายว่าทำไมมันเป็นสิ่งสำคัญในการสอนกลยุทธ์และนำเสนอวิธีการสำหรับนักเรียนที่จะทำงานในกลยุทธ์จากการเตรียมการทดลองด้วยวิธีการที่แตกต่างกันในการประเมินผลการเรียนการสอนตัวอย่างจะได้รับความรู้ความเข้าใจของหน่วยความจำและกลยุทธ์อภิปัญญาที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตัวเองของคำศัพท์


Source:  Volume 43, Number 2, 2005

Forum :Rock and Roll English Teaching: Content-Based Cultural Workshops (Volume 49, Number 4,2011)



Rock and Roll English Teaching: 
Content-Based Cultural Workshops 


                   บทความนี้จะพิจารณาการฝึกอบรมทางวัฒนธรรมเนื้อหาตาม ด้วยการมุ่งเน้นเนื้อหาทางวัฒนธรรมและผ่อนคลายบรรยากาศการมีส่วนร่วม, ภาษาปฏิบัตินักเรียนและกลยุทธ์การเรียนแบบร่วมมือ ผู้เขียนอธิบายกระบวนการของการพัฒนาดังกล่าวการประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นกิจกรรมนอกหลักสูตรสำหรับผู้ชมที่มีขนาดใหญ่ผสม รายละเอียดบทความเช่นการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบโต้ตอบบนหินกลิ้งและรวมถึงภาคผนวกของเว็บไซต์ที่มีประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ

Source: Volume 49 Number 4 , 2011

Multiple Intelligences (ทฤษฏีพหุปัญญา)


 Multiple Intelligences (ทฤษฏีพหุปัญญา)

                  ในตอนแรก Gardner (1993) เชื่อว่า ความฉลาดของมนุษย์มี 7 ด้าน ต่อมาในปี 1995 เพิ่มเข้าอีก 1 ด้าน คือด้านธรรมชาติวิทยา

  1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic intelligence) : ความสามารถในการเรียนรู้จากการอ่าน เขียน ฟัง พูด
  2. ปัญญาด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ (Logical/ Mathematical intelligence) : ความสามารถในเรื่องตัวเลข รูปแบบ สามารถเรียนรู้จากการแก้ปัญหา จากทักษะการคิด เช่น การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และคิดแบบมีเหตุผล
  3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial intelligence) : ความสามารถด้านการสร้างภาพลักษณ์ โดยการจินตนาการ สามารถเรียนรู้จากจินตนาการ การวาดภาพ การสร้างแผนภูมิได้
  4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily-Kinesthetic intelligence) : ความสามารถในการใช้ร่างกายหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการแก้ปัญหา การสร้างสรรค์ และการอธิบายความคิด สามารถเรียนรู้จากการลงปฏิบัติ
  5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical intelligence) : ความสามารถในจังหวะ เนื้อร้องและทำนอง สามารถเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ
  6. ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interpersonal intelligence) : ความสามารถด้านการเข้าใจและรับฟังผู้อื่น สามรถเรียนรู้จากการถกเถียง การอธิบาย การไต่ถาม การอภิปราย และการเรียนรู้แบบร่วมมือ (cooperative learning)
  7. ปัญญาด้านรู้จักตนเอง (Intrapersonnal intelligence ) : ความสามารถในการพึงพอใจตนเองและเข้าใจตนเอง เห็นคุณค่าของตนเอง สามารถเรียนรู้จากการใช้พินิจพิจารณาในสิ่งที่ได้เรียนรู้
  8. ปัญญาด้านการเข้าธรรมชาติ (Naturalist intelligence) : ความสามารถในการตระหนักรู้และสนใจในเรื่องธรรมชาติ สามารถเรียนรู้จากการแยกแยะจัดกลุ่ม การสังเกตธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่าง ๆ




     


Cooperative Learning


                การสอนแบบร่วมมือจะยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และเน้นปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยสมาชิกในกลุ่มมีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน การสนับสนุนให้นักเรียนได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันจนบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งทักษะทางสังคมเช่นนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพัฒนาในตัวผู้เรียนแต่ละคน



    



Whole Language Approach


            การสอนภาษาแบบธรรมชาติจะเน้นการสอนโดยตรงจากครุและใช้สื่อที่มีความหมาย วิธีสอนแบบนี้สามารถนำไปสอดแทรกกับการเรียนภาษา ทั้งการพูด การเขียน และการอ่าน โดยเชื่อว่านักเรียนเกิดมาพร้อมกับความสามารถที่จะการเรียนรู้ภาษา  การประเมินก็จะประเมินตามการเรียนรู้สภาพจริง

เทคนิคการสอน:
     2 เทคนิคการเขียนที่เหมาะกับการสอนวิธีนี้คือ กระบวนการการเขียน และการเขียนบันทึกประจำวัน หรือการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น


กระบวนการการเขียน คือสิ่งที่คุณทำในขั้นตอนการเขียน



การเขียนบันทำเรื่องราว (journal) คือ ทุกสิ่งที่นักเรียนได้สื่อสารกับครู
การตรวจ คือครูจะอ่านสิ่งที่นักเรียนเขียนมาแล้วเขียนแสดงความคิดเห็นตอบกลับเรื่องที่นักเรียนเขียน โดยจะไม่เน้นเรื่องของความถูกต้องของหลักไวยากรณ์