Communicative Language Teaching
วิธีสอนนี้เป็นหัวใจสำคัญของการสอนในปัจจุบัน
การสอนแบบ Communicative Language
เป็นการสอนที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสื่อสารหรือใช้ภาษาเป้าหมาย
การสอนให้นักเรียนสามารถที่จะติดต่อสื่อสารในภาษาเป้าหมายได้จำเป็นต้องประกอบด้วย
4 วิธีของความสามารถในการติดต่อต่อไปนี้
- ภาษา หรือโครงสร้างไวยากรณ์
- การใช้ภาษาให้ถูกกาลเทศะ ทั้งบุคคลและสถานที่
- มีความเข้าใจความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของประโยค
- เน้นปฏิบัติ หรือกลยุทธ์ที่ทำให้เข้าใจ
ขั้นตอนการสอน : PPP approach (3Ps)
“P = Presentation” คือ ขั้นสอนโครงสร้างของไวยากรณ์ โดยครูอธิบาย
ยกตัวอย่างประกอบ รวมทั้งตรวจสอบความ เข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนไป
“P = Practice” คือ ขั้นที่ให้นักเรียนฝึกทำแบบฝึกหัด
ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตของเนื้อหาและทักษะการคิด หรือ แบบฝึกแบบ substitution
“P = Product” คือ ขั้นฝึกให้นักเรียนสร้างงานหรือผลิตอุปกรณ์การเรียน
โดยใช้เนื้อหาหรือข้อมูลของพวกเขาเองในการกำหนดรูปแบบของชิ้นงานนั้น ๆ
กิจกรรมที่ใช้ในสอน :
Mechanical practice เน้นกิจกรรมที่ควบคุมการฝึกปฏิบัติ ซึ่งนักเรียนสามารถประสบความสำเร็จและดำเนินการโดยไม่จำเป็นต้องทำความเข้าใจภาษาที่พวกเขาใช้
ตัวอย่างเช่น
การฝึกซ้ำ ๆ และ การฝึกแทนคำบางคำในหน่วยภาษา
Meaningful practice ไม่เน้นการฝึกแบบคอลโทรลเท่ากับ Mechanical
practice
ซึ่งครูอาจกำหนดทางเลือกมาให้แล้วให้นักเรียนเลือกวิธีการเอาเอง
ตัวอย่างเช่น
ครูอาจให้แผนที่ถนนแล้วให้นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับในแผนที่ เช่น Where's The Bookshop? เป็นต้น
Communicative practice เน้นให้นักเรียนทำเอง
โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนฝึกใช้ภาษาในบริบทที่สมจริง
ตัวอย่างเช่น
อาจจะต้องให้นักเรียนวาดแผนที่ของพื้นที่หรือละแวกใกล้บ้านของพวกเขา
และตอบคำถามเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้ง
Information Gap เป็นการทำงานแบบคู่ (A-B)
- บทบาทสมมุติ
- จิ๊กซอ
- กิจกรรมที่เน้นใช้กิจกรรมที่ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว (Accuracy and Fluency)
เทคนิคการสอน :
- ใช้สื่อของจริง
- บทบาทสมมุติ : กำหนดตวละคร
- ภาพเรื่องสั้น
- เกมส์ภาษา : Information Gap
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น