วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

Total Physical Response (TPR)

Total Physical Response (TPR) 

             TPR ถูกพัฒนาโดย Jame Asher ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาที่มหาลัย ซาน โจส เสตจ, แคลิฟอเนีย
             การสอนภาษาโดยการใช้ท่าทาง โดยให้ผู้เรียนฟังคำสั่งจากครูแล้วผู้เรียนทำตาม เป็นการประสานการฟังกับการใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นการตอบรับให้ทำตามโดยผู้เรียนไม่ต้องพูด วิธีสอนภาษาโดยการใช้ท่าทางใช้สำหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาที่ 2  การเรียนภาษานั้นจะเรียนได้ดีต้องเรียนด้วยอิริยาบทที่สนุกสนานกับบทเรียนและมีความสุขกับสิ่งที่เรียน

* เชื่อว่า "ผู้เรียนจะต้องเรียนในวิธีที่ธรรมชาติ-ใช้ภาษาแม่" (Asher)

ขั้นตอนการสอน :
  1. ครูใช้คำสั่งในภาษาเป้าหมาย
  2. ครูให้คำสั่งกับอาสาสมัคร
  3. ครูให้คำอธิบายคำสั่งแก่นักเรียน (ในกรณีที่นักเรียนไม่เข้าใจคำสั่ง)
  4. ครูให้นักเรียนใช้คำสั่งที่พวกเขาไม่เคยได้ยินมาก่อน
  5. ครูเขียนคำสั่งใหม่ขึ้นบนกระดาน
เทคนิคการสอน :
  1. ใช้คำสั่งให้นักเรียนทำ
  2. แสดงบทบาทสมมุติ
  3. เรียนไปและแสดงไป
ข้อดีของการสอนแบบ TPR :
  • นักเรียนได้รับกำลังใจเมื่อเขาทำได้ โดยไม่เร่งแต่จะให้ผู้เรียนเข้าใจเอง และครูสามารถแน่ใจได้ว่านักศึกษาทำได้แน่  ทำให้เด็กมีกำลังใจที่จะทำต่อไป
ข้อเสียของการสอนแบบ TPR :
  • ครูต้องระวังการระวังการใช้คำที่มีความหมายใกล้กัน










Forum : Teaching Listening Skills to Young Learners through “Listen and Do” Songs


Teaching Listening Skills to Young Learners through “Listen and Do” Songs


              บทความนี้ซึ่งตรวจสอบการใช้เพลงในการปรับปรุงทักษะการฟังของผู้เรียนหนุ่มมีแผนการสอนและกิจกรรมการติดตามและรายชื่อของแหล่งข้อมูลออนไลน์สำหรับเพลง


Source: Volume, Numver 3,  2012

Forum : Lesson Plan : Talking a Look At Schools


Lesson Plan : Talking a Look At Schools


           แผนการสอนนี้ขึ้นอยู่กับการอ่านสั้นของรายละเอียดของนักเรียนโรงเรียนหนึ่งในห้องให้มีความหลากหลายของกิจกรรมรวมถึงการอภิปรายกลุ่มการปฏิบัติคำศัพท์การสะกดคำ, หัวข้อการวิจัยการสัมภาษณ์และงานที่มีนักเรียนสำรวจของพวกเขา โรงเรียนของตนเอง ไวยากรณ์เน้นจุดบน คำถามWH- และรูปแบบเปรียบเทียบ


Source: Volume 43, Number 2, 2005



Forum : Vocabulary StrategyWork for Advanced Learners of English


Vocabulary StrategyWork for Advanced Learners of English

        บทความนี้จะให้หลายกิจกรรมที่ออกแบบมาเพื่อสอนกลยุทธ์การเรียนรู้คำศัพท์ ผู้เขียนอธิบายว่าทำไมมันเป็นสิ่งสำคัญในการสอนกลยุทธ์และนำเสนอวิธีการสำหรับนักเรียนที่จะทำงานในกลยุทธ์จากการเตรียมการทดลองด้วยวิธีการที่แตกต่างกันในการประเมินผลการเรียนการสอนตัวอย่างจะได้รับความรู้ความเข้าใจของหน่วยความจำและกลยุทธ์อภิปัญญาที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตัวเองของคำศัพท์


Source:  Volume 43, Number 2, 2005

Forum :Rock and Roll English Teaching: Content-Based Cultural Workshops (Volume 49, Number 4,2011)



Rock and Roll English Teaching: 
Content-Based Cultural Workshops 


                   บทความนี้จะพิจารณาการฝึกอบรมทางวัฒนธรรมเนื้อหาตาม ด้วยการมุ่งเน้นเนื้อหาทางวัฒนธรรมและผ่อนคลายบรรยากาศการมีส่วนร่วม, ภาษาปฏิบัตินักเรียนและกลยุทธ์การเรียนแบบร่วมมือ ผู้เขียนอธิบายกระบวนการของการพัฒนาดังกล่าวการประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นกิจกรรมนอกหลักสูตรสำหรับผู้ชมที่มีขนาดใหญ่ผสม รายละเอียดบทความเช่นการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบโต้ตอบบนหินกลิ้งและรวมถึงภาคผนวกของเว็บไซต์ที่มีประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ

Source: Volume 49 Number 4 , 2011

Multiple Intelligences (ทฤษฏีพหุปัญญา)


 Multiple Intelligences (ทฤษฏีพหุปัญญา)

                  ในตอนแรก Gardner (1993) เชื่อว่า ความฉลาดของมนุษย์มี 7 ด้าน ต่อมาในปี 1995 เพิ่มเข้าอีก 1 ด้าน คือด้านธรรมชาติวิทยา

  1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic intelligence) : ความสามารถในการเรียนรู้จากการอ่าน เขียน ฟัง พูด
  2. ปัญญาด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ (Logical/ Mathematical intelligence) : ความสามารถในเรื่องตัวเลข รูปแบบ สามารถเรียนรู้จากการแก้ปัญหา จากทักษะการคิด เช่น การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และคิดแบบมีเหตุผล
  3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial intelligence) : ความสามารถด้านการสร้างภาพลักษณ์ โดยการจินตนาการ สามารถเรียนรู้จากจินตนาการ การวาดภาพ การสร้างแผนภูมิได้
  4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily-Kinesthetic intelligence) : ความสามารถในการใช้ร่างกายหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการแก้ปัญหา การสร้างสรรค์ และการอธิบายความคิด สามารถเรียนรู้จากการลงปฏิบัติ
  5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical intelligence) : ความสามารถในจังหวะ เนื้อร้องและทำนอง สามารถเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ
  6. ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interpersonal intelligence) : ความสามารถด้านการเข้าใจและรับฟังผู้อื่น สามรถเรียนรู้จากการถกเถียง การอธิบาย การไต่ถาม การอภิปราย และการเรียนรู้แบบร่วมมือ (cooperative learning)
  7. ปัญญาด้านรู้จักตนเอง (Intrapersonnal intelligence ) : ความสามารถในการพึงพอใจตนเองและเข้าใจตนเอง เห็นคุณค่าของตนเอง สามารถเรียนรู้จากการใช้พินิจพิจารณาในสิ่งที่ได้เรียนรู้
  8. ปัญญาด้านการเข้าธรรมชาติ (Naturalist intelligence) : ความสามารถในการตระหนักรู้และสนใจในเรื่องธรรมชาติ สามารถเรียนรู้จากการแยกแยะจัดกลุ่ม การสังเกตธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่าง ๆ




     


Cooperative Learning


                การสอนแบบร่วมมือจะยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และเน้นปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยสมาชิกในกลุ่มมีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน การสนับสนุนให้นักเรียนได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันจนบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งทักษะทางสังคมเช่นนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพัฒนาในตัวผู้เรียนแต่ละคน



    



Whole Language Approach


            การสอนภาษาแบบธรรมชาติจะเน้นการสอนโดยตรงจากครุและใช้สื่อที่มีความหมาย วิธีสอนแบบนี้สามารถนำไปสอดแทรกกับการเรียนภาษา ทั้งการพูด การเขียน และการอ่าน โดยเชื่อว่านักเรียนเกิดมาพร้อมกับความสามารถที่จะการเรียนรู้ภาษา  การประเมินก็จะประเมินตามการเรียนรู้สภาพจริง

เทคนิคการสอน:
     2 เทคนิคการเขียนที่เหมาะกับการสอนวิธีนี้คือ กระบวนการการเขียน และการเขียนบันทึกประจำวัน หรือการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น


กระบวนการการเขียน คือสิ่งที่คุณทำในขั้นตอนการเขียน



การเขียนบันทำเรื่องราว (journal) คือ ทุกสิ่งที่นักเรียนได้สื่อสารกับครู
การตรวจ คือครูจะอ่านสิ่งที่นักเรียนเขียนมาแล้วเขียนแสดงความคิดเห็นตอบกลับเรื่องที่นักเรียนเขียน โดยจะไม่เน้นเรื่องของความถูกต้องของหลักไวยากรณ์


Task-Based Instruction (TBI)


Task-Based Instruction (TBI)

               การสอนแบบเน้นงานเป็นฐาน (TBI) จะเน้นให้นักเรียนใช้ภาษาอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว เพื่อให้นักเรียนมีความมั่นใจมากขึ้น
การประเมินชิ้นงานแบบ TBI จะเน้นงานให้สมบูรณ์มากกว่าการใช้ภาษาให้ถูกต้อง

หลักการการสอน :

  1. บอกจุดประสงค์ของงานที่สั่งให้ชัดเจน
  2. สาธิต/ ยกตัวอย่าง ให้นักเรียนดูก่อนจะสั่งงานให้พวกเขาทำงานเดี่ยว (Pre-task)
  3. ครูควรจะแยกขั้นตอนการทำงานให้เป็นขั้นที่ชัดเจน (แยกย่อยเล็ก ๆ)ให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำงาน
  4. ครูจะใช้ภาษาอะไรก็ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเข้าใจงานที่สั่ง
  5. แก้ในสิ่งที่นักเรียนพูดผิดให้ถูกต้อง โดยอาจจะพูดใหม่ให้ดูเป็นตัวอย่าง
  6. ให้ทำงานที่เป็นจิ๊กซอ (เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำความเข้าใจ)
  7. นักเรียนต้องได้รับรู้ถึงความสำเร็จในการทำงาน เช่น การให้คะแนน
  8. เปิดโอกาสให้นักเรียนออกแบบเองว่าจะทำงานอย่างไร

Prabhu แบ่งการทำงานเป็น 3 ชนิด คือ
  • Information gap activity
  • Opinion gap activity
  • Reasoning gap activity 

Content-Based Instruction (CBI)


Content-Based Instruction (CBI)

                การสอนแบบเน้นเนื้อหา (CBI) จะเน้นเนื้อหาที่สอน แต่จะมีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษภายในตัว โดยทุกวิชาที่เรียนต้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด คล้ายกับการเรียนแบบ English program ในโรงเรียนที่มุ่งเน้นเรื่องภาษา

หลักการการสอน :
  1. เนื้อหาที่ใช้ในวิชาต่าง ๆ ก็จะเป็นภาษาอังกฤษหมดทุกวิชา
  2. การสอนควรอยู่บนพื้นฐานประสบการณ์เดิมของนักเรียน
  3. นำประสบการณ์เดิมของนักเรียนมาเชื่อมกับเนื้อหาเพราะจะเป็นตัวกระตุ้นให้เรียนรู้
  4. เริ่มจากสิ่งที่ง่าย -> ต่อยอดไปในสิ่งที่ยาก เนื้อหาที่สอนอยู่ในความสนใจของนักเรียน
  5. คำศัพท์ที่ใช้จะง่าย (เรียนคำศัพท์จากบริบท)
  6. ถ้าผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวเรื่องจริง เขาจำเป็นต้องการให้ช่วยอธิบายในเรื่องของภาษา
  7. ความสามารถในการสื่อสารก็จะรวมถึงความสามารถในการอ่าน การเขียนเกี่ยวกับเนื้อหา




Communicative Language Teaching


Communicative Language Teaching


                    วิธีสอนนี้เป็นหัวใจสำคัญของการสอนในปัจจุบัน การสอนแบบ Communicative Language เป็นการสอนที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสื่อสารหรือใช้ภาษาเป้าหมาย

 การสอนให้นักเรียนสามารถที่จะติดต่อสื่อสารในภาษาเป้าหมายได้จำเป็นต้องประกอบด้วย 4 วิธีของความสามารถในการติดต่อต่อไปนี้
  1.  ภาษา หรือโครงสร้างไวยากรณ์
  2. การใช้ภาษาให้ถูกกาลเทศะ ทั้งบุคคลและสถานที่
  3. มีความเข้าใจความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของประโยค
  4. เน้นปฏิบัติ หรือกลยุทธ์ที่ทำให้เข้าใจ
ขั้นตอนการสอน  PPP approach (3Ps)

          “P = Presentation” คือ ขั้นสอนโครงสร้างของไวยากรณ์ โดยครูอธิบาย ยกตัวอย่างประกอบ รวมทั้งตรวจสอบความ เข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนไป
         “P = Practice” คือ ขั้นที่ให้นักเรียนฝึกทำแบบฝึกหัด ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตของเนื้อหาและทักษะการคิด หรือ แบบฝึกแบบ substitution
        “P = Product” คือ ขั้นฝึกให้นักเรียนสร้างงานหรือผลิตอุปกรณ์การเรียน โดยใช้เนื้อหาหรือข้อมูลของพวกเขาเองในการกำหนดรูปแบบของชิ้นงานนั้น ๆ
กิจกรรมที่ใช้ในสอน :
        Mechanical practice เน้นกิจกรรมที่ควบคุมการฝึกปฏิบัติ ซึ่งนักเรียนสามารถประสบความสำเร็จและดำเนินการโดยไม่จำเป็นต้องทำความเข้าใจภาษาที่พวกเขาใช้
                ตัวอย่างเช่น การฝึกซ้ำ ๆ และ การฝึกแทนคำบางคำในหน่วยภาษา
      Meaningful practice ไม่เน้นการฝึกแบบคอลโทรลเท่ากับ Mechanical practice ซึ่งครูอาจกำหนดทางเลือกมาให้แล้วให้นักเรียนเลือกวิธีการเอาเอง
                ตัวอย่างเช่น ครูอาจให้แผนที่ถนนแล้วให้นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับในแผนที่ เช่น Where's The Bookshop? เป็นต้น
      Communicative practice เน้นให้นักเรียนทำเอง โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนฝึกใช้ภาษาในบริบทที่สมจริง
                ตัวอย่างเช่น อาจจะต้องให้นักเรียนวาดแผนที่ของพื้นที่หรือละแวกใกล้บ้านของพวกเขา และตอบคำถามเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้ง
     Information Gap เป็นการทำงานแบบคู่ (A-B) 
  • บทบาทสมมุติ
  • จิ๊กซอ
  • กิจกรรมที่เน้นใช้กิจกรรมที่ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว (Accuracy and Fluency)
เทคนิคการสอน :
  1. ใช้สื่อของจริง
  2. บทบาทสมมุติ : กำหนดตวละคร
  3. ภาพเรื่องสั้น
  4. เกมส์ภาษา : Information Gap











Community Language Learning

Community Language Learning

                 วิธีสอนนี้จะเน้นความเชื่อใจและเห็นอกเห็นใจผู้เรียน โดยครูผู้สอนต้องคำนึงถึงความรู้สึกของผู้เรียนและสติปัญญารวมถึงประติกิริยาของผู้เรียนทั้งภายนอกและถายใน

* เชื่อว่า "  ผู้เรียนสามารถขจัดความกลัวได้นั้นต้องมีครูเป็นผู้ให้คำปรึกษา โดยครูต้องสังเกตความกลัวของผู้เรียน "   (Curran)

หลักกการการสอน :
  1. "ผู้เรียน" คือ "ลูกค้า/ผู้เข้ารับปรึกษา" ส่วน "ครู" เป็น "ผู้ให้คำปรึกษา"
  2. ต้องมีความเชื่อใจระหว่างครูผู้สอนและผู้เรียน
  3. ให้ผู้เรียนเล่าปัญหาให้ผู้สอนฟัง
  4. เป็นการสอนเรื่องของคำศัพท์และไวยากรณ์ไปในตัว
  5. ให้เด้กพูด ๆ -> ถูกบันทึก -> แปลเป็นภาษาเป้าหมาย
  6. รอให้ผู้เรียนพร้อมที่จะใช้ภาษาเป้าหมาย โดยพวกเขาจะรู้สึกอยากใช้เอง
  7. จัดให้มีกิจกรรมที่หลากหลาย
ขั้นตอนการสอน :
  1. ครูให้ผู้เรียนซ้อมพูดโดยครูเป็นผู้บอกก่อนจะมีการพูดจริง -> อัดเทปจริง
  2. ฟังเทป + แปลประโยค
  3. ทำงานเป็นกลุ่มสร้างประโยคใหม่
  4. พุดเกี่ยวกับแบบฝึกหัดที่ทำไปว่า "รู้สึกอย่างไร"
เทคนิคการสอน :
  1. บันทึกเสียงบทสนทนาไว้
  2. แปล
  3. ทบทวนสิ่งที่ได้ฝึกไป
  4. ฟังบทสนทนาของตนเอง (ที่ได้อัดไปก่อนหน้านี้)
  5. ย้ำในส่วนที่เด็กยังไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือในสิ่งที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจ
  6. แบ่งงานให้ทำเป็นกลุ่ม



Suggestopedia (การสอนแบบชักชวน)

Suggestopedia (การสอนแบบชักชวน)

                  หลัง ปี ค.ศ. 1970 Georgi Lozanov เชื่อว่า "การเรียนรู้ภาษาเกิดขึ้นได้รวดเร็วกว่าสิ่งที่ปรากฏ"

                 โดยธรรมชาติการเรียนรู้ของนักเรียนจะมีอุปสรรคที่เกิดจากความกลัวและกังวลว่าจะทำไม่ได้ กลัวไม่จะเข้าใจในสื่งที่จะทำ และเมื่อนักเรียนมีอุปสรรคที่เกิดจากความกลัวของพวกเขาเอง ประสิธิภาพของการเรียนจะไม่เต็มที่ จะได้เพียงแค่ 5-10% ของสิ่งที่เรียนไปเท่านั้น ครูจะต้องแก้ปัญหาโดย ครูต้องสร้างแรงบันดาลใจเพื่อทำลายกำแพงความกลัว โดยการช่วยนักเรียนกำจัดความคิดที่ว่าทำไม่ได้ออกไปจากใจของนักเรียน

หลักการสอน :

  1. บรรยากาศในการเรียนสะดวกสบาย ทำให้นักเรียนรู้สึกผ่อนคลาย
  2. ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ไม่รู้ตัว โดยสร้างความรู้เป็นสิ่งรอบข้าง เช่น การติด A-Z, คำศัพท์วันทั้ง 7 หรือ คำศัพท์อื่นที่ดูน่าสนใจ
  3. ถ้านักเรียนเชื่อใจและเคารพในตัวครูเขาจะยอมรับในสิ่งที่ครูสอน
  4. ครูกำจัดหรือเอาความกลัวที่นักเรียนกลัวว่าทำไม่ได้ออกไปจากใจของเขาให้ได้
  5. ผู้เรียนมั่นใจมากเท่าไหร่ เขาก็จะเรียนรู้ได้ดีมากเท่านั้น
  6. ใช้ภาษาแม่อธิบาย
  7. การนำพวกศิลปะ เช่น ดนตรี ละคร เข้ามาบูรณาการในการสอน
  8. ต้องรับฟังความผิดพลาดได้
ขั้นตอนการสอน :
  1. นักเรียนชื่ออาชีพเป็นภาษาเป้าหมาย
  2. ครูสอน dialog และคำศัพท์พร้อมทั้งเรื่องของไวยากรณ์ด้วย
  3. ครูอ่านบทสนา (dialog) ระหว่างที่ให้นักเรียนทำกิจกรรม
  4. ให้เด็กทำกิจกรรม : แสดงละคร, เล่นเกมส์, ร้องเพลง, ทำแบบฝึกหัดถาม-ตอบ
เทคนิคการสอน :
  1. จัดบรรยากาศชั้นเรียนให้นักเรียนรู้ผ่อนคลายในการเรียน
  2. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จาดสิ่งรอบข้าง
  3. ให้คำแนะนำในเชิงบวก หรือในแง่ดี
  4. เปิดโอกาสให้เด็กเห็นภาพ
  5. ให้นักเรียนได้กำหนดตัวละครใหม่ ๆ
  6. แสดงบทบาทสมมุติ
  7. ทำกิจกรรมครั้งแรก
  8. ทำกิจกรรมครั้งที่สอง
  9. มีกิจกรรมให้ทำหลากหลาย






The Silent Way (การสอนแบบเงียบ)

The Silent Way (การสอนแบบเงียบ)

                 การสอนแบบเงียบเป็นการสอนที่ครู "เงียบ" แต่ใช้การบอกใบ้ท่าทาง และชาร์ตสีเพื่อช่วยในการออกเสียง แท่งไม้ที่เรียกว่า "rod" คือ ชุดของแท่งไม้ที่มีสีและความยาวที่แตกต่างกันที่ครูใช้ในการช่วยให้นักเรียนพูด โดยเฉพาะผู้เริ่มเรียน โดยใช้คำศัพท์ง่ายเช่น ครูยกแท่งไม้นักเรียนพูด "This is a yellow rod" แล้วเมื่อนักเรียนเกิดความชำนาญแล้ว ครูก็จะให้นักเรียนพูดเป็นประโยคที่ยาวและซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ เช่น Take the long yellow rod and give it to Cathy. ในระหว่างนี้ครูจะไม่พูดหรือพูดน้อยที่สุดเพื่อให้นักเรียนสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง  นักเรียนจะต้องเรียนรู้ที่จะประเมินตนเองจะแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ของตนเองได้ 


* เชื่อว่า "การสอน สำคัญน้อยกว่าการเรียนรู้" (Caleb Gattegno, 1993)


ขั้นตอนการสอน :


  1. สอนออกเสียง : เสียงสระและเสียงพยัญชนะ โดยการใช้แผ่นภูมิสีและแสดงท่าทาง
  2. สอนออกเสียง : คำ โดยการใช้แท่งไม้และชาร์ตคำพูด
  3. สอนประโยคโดยการเรียงคำ
  4. ให้นักเรียนอ่านประโยคที่สร้างจากใช้แผ่นชาร์ต
  5. เขียนประโยค
เทคนิคการสอน :
  1. แผ่นภูมิเสียง-สี
  2. การเงียบของครู
  3. การแก้ไขที่ถูกต้อง
  4. แท่งไม้
  5. แสดงท่าทางที่ถูกต้อง
  6. แผ่นภูมิคำพูด
  7. แผ่นภูมิเสียงสระในภาษาอังกฤษ
ข้อดีของการสอนแบบเงียบ :
  • นักเรียนจะจำเนื้อหาได้นานเพราะเกิดจากความพยายามออกเสียงด้วยตัวเอง
ข้อเสียของการสอนแบบเงียบ :
  • เสียเวลาในการเรียนรู้ของนักเรียน เพราะครูใช้เวลาในการให้เด็กฝึกออกเสียงมาก


Video-The Silent Way

Audio-Lingual Method-ALM (วิธีสอนแบบฟัง)


Audio-Lingual Method-ALM  (วิธีสอนแบบฟัง)

                         วิธีสอนแบบนี้เริ่มต้นได้รับความนิยมในประเทศสหรัฐอเมริกาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเริ่มจากการสอนภาษาต่างประเทศแก่ทหารอเมริกันที่จะไปปฏิบัติการในประเทศต่างๆ จากนั้นจึงนำมาใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ การศึกษาแบบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากการคิดของ Skinner (1957) ซึ่งเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ตลอดถึงการเรียนรู้ทางภาษาเป็นการสร้างสมนิสัย ซึ่งเกิดจากการฝึกโดยใช้สิ่งตอบสนองด้วยแรงเสริมหรือรางวัล
                        วิธีสอนแบบฟัง-พูดมีวัตถุประสงค์ที่จะนำลักษณะนิสัยในการพูดภาษาแรก (ภาษาแม่) มาใช้ในการเรียนภาษาที่สอง(ภาษาเป้าหมาย) การเรียนเน้นให้มีการท่องจำบทสนทนา มีการฝึกรูปประโยคจนผู้เรียนสามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องโดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องอยุดคิด 

ขั้นตอนการสอน :
  1. นักเรียนฟังบทสนทนา
  2. นักเรียนพูดตามบทสนทนาหลาย ๆ ครั้ง
  3. การฝึกรูปประโยค
  4. การฝึกบทความ : ฝึกพร้อมกันทั้งห้อง, ฝึกเป็นกลุ่ม, ฝีกเป็นคู่
  5. การฝึกบทสนทนาที่หลากหลาย
เทคนิคการสอน :
  1. ฝึกท่องจำบทสนทนา
  2. การฝึกสร้างแบบกลับหลัง
  3. การฝึกพูดซ้า ๆ
  4. การฝึกแบบห่วงโซ่
  5. การฝึกเปลี่ยนประโยคเดียว
  6. การฝีกเปลี่ยนประโยคหลายประโยค
  7. การเปลี่ยนรูปแบบประโยค : ประโยคบอกเล่า, ประโยคปฏิเสธ, ประโยคคำถาม 
  8. การฝึกถาม-ตอบ
  9. การฝึก
  10. การฝึกเติมบทสนทนาให้สมบูรณ์
  11. เกมส์ ตัวอักษร
ข้อดีของวิธีสอนแบบฟัง-พูด

  • ผู้เรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียน เพราะสามารถพัฒนาความคล่องในการพูด
ข้อเสียของวิธีสอนแบบฟัง-พูด

  • ผู้เรียนจะได้รับการฝึกเหมือนนกแก้วนกขุนทอง ทำให้ผู้เรียนอาจจะไม่สามารถนำเอาสิ่งที่ท่องจำไปใช้ในสถานการณ์อื่นนอกเหนือไปจากชั้นเรียนได้


    Video-Audio-Lingual Method-ALM



The Grammar-Translation Method (วิธีสอนแบบเน้นไวยากรณ์และการแปล )

The Grammar-Translation Method 
(วิธีสอนแบบเน้นไวยากรณ์และการแปล )

วิธีสอนแบบนี้ถึงแม้จะเกิดมานาน แต่ยังคงมีการใช้อยู่แม้ในปัจจุบัน ซึ่งได้รับอิทธิพลการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ(ภาษากรีกและลาติน)ในยุโรปจากศตวรรษที่ 19 และศตวรรษที่ 20 (1840’s-1940’s) หลักการสอนคือ เน้นให้ผู้เรียนรู้กฎของไวยากรณ์และสามารถแปลประโยคหรือบทความจากภาษาแม่เป็นภาษาเป้าหมายหรือสามารถแปลจากภาษาเป้าหมายเป็นภาษาแม่ได้ถูกต้อง และยังเน้นการอ่านและการเขียนโดยให้ผู้เรียนท่องจำศัพท์ในภาษาที่จะเรียนจากเรื่องที่อ่านพร้อมทั้งคำแปลในภาษาแม่โดยอาจจะใช้ดิกชันนารีเป็นตัวช่วยในการแปล วิธีการสอนนี้ผู้สอนใช้วิธีการบรรยายโดยใช้ภาษาแม่ การวัดผลวัดจากความจำในกฎเกณฑ์ต่างๆ การเรียนรู้ความหมายของคำศัพท์ และการแปลจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง

ข้อดีของวิธีสอนแบบเน้นไวยากรณ์
  • ประหยัดเวลาและแรงงาน เนื่องจากการสอนแบบนี้ผู้สอนใช้ภาษาของผู้เรียนบรรยายจึงประหยัดเวลาในการอธิบายให้เข้าใจ และเนื่องจากเป็นการเรียนแบบบรรยาย ห้องเรียนจึงรับผู้เรียนได้เป็นจำนาวนมากจึงสามารถประหยัดผู้สอนได้
ข้อเสียของวิธีสอนแบบเน้นไวยากรณ์และการแปล
  • ผิดลักษณะธรรมชาติของการเรียนภาษาเพราะไม่เน้นทักษะการฟังและการพูด
  • การท่องจำกฎเกณฑ์ต่างๆ เป็นงานหนักและน่าเบื่อสำหรับผู้เรียน









Video-The Grammar-Translation Method

Direct Method (วิธีสอนแบบตรง)


Direct Method  (วิธีสอนแบบตรง)

                     วิธีสอนแบบนี้เกิดขึ้นในยุโรประหว่างปี 1850-1900 เป็นการเรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติ (Natural Approach) โดยให้การเรียนภาษาที่สองหรือภาษาเป้าหมายเกิดขึ้นเหมือนการเรียนภาษาแม่ ใช้ทักษะการพูดเป็นวิธีการสอน ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการแปลซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงการสอนภาษาจากวิธีการสอนแบบเน้นไวยากรณ์และการแปล การสอนวิธีนี้เน้นที่การฟังและพูด โดยเน้นการใช้สื่อของจริง การสอนแบบตรงจะเน้นการใช้ภาษาเป้าหมายเป็นสื่อในการสอนในห้องเรียน โดยเริ่มต้นจากการสอนให้ผู้เรียนฝึกฟังความหมายในประโยค เช่น ประโยคคำถาม ประโยคคำตอบ ผู้สอนจะพยายามให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายในประโยคด้วยการเชื่อมโยงคำกับของจริง ผู้เรียนจะเป็นผู้สรุปกฎเกณฑ์ของภาษาด้วยตนเองหลังจากได้รับการฝึกโครงสร้างของภาษาจากการฝึกพูด จากนั้นอาจให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดกฎไวยากรณ์

ขั้นตอนการสอน :
  1. ฟังและอ่านบทสนทนา 
  2. สอนคำศัพท์ โดยใช้ภาษาเป้าหมาย
  3. ถามคำถามเพื่อเช็คความเข้าใจ
  4. สรุป
  5. ทำแบบฝึกหัด : เขียนตามคำบอก, เติมคำในช่องว่าง, บทความ
เทคนิคการสอน :
  1. การอ่านออกเสียง
  2. แบบฝึกหัด ถาม-ตอบ
  3. นักเรียนรับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยแก้ไขให้ถูกต้อง
  4. ฝึกบทสนทนา
  5. แบบฝึกหัด : เติมคำในช่องว่าง
  6. เขียนตามคำบอก
  7. Mind Map
  8. การเขียนหน้า
ข้อดีของวิธีสอนแบบตรง
  • ช่วยให้ผู้เรียนฟังและพูดได้คล่อง ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีของการเรียนการอ่านและเขียน
  • ช่วยให้ผู้เรียนคุ้นกับภาษาที่เรียนได้เร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเรียนระดับต้นๆ

ข้อเสียของวิธีสอนแบบตรง
  • ผู้สอนจะต้องเป็นเจ้าของภาษา หรือผู้ที่มีความถนัดในภาษาที่สอน